รถเครน บางคนเรียก “รถปั้นจั่น” ซึ่งการใช้งานของรถเครน นี้คือ ลักษณะรถที่มีการติดอุปกรณ์ในการยกของ ซึ่งอุปกรณ์นี้มีลักษณะแบบแท่งยื่นออกมาจากตัวรถ รถเครน ที่มีการติดอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง​

รถเครน แบ่งลักษณะการใช้งานยังไงกันบ้างนะ

1.1 เครนตีนตะขาบ (Crawler Crane)
– ความโดดเด่นของรถเครนตีนตะขาบ คือ ตรงที่ล้อรถมีลักษระยาวรีและมีบูมสาน (Lattices Boom) ลักษณะการใช้งานเหมาะกับการใช้งานในไซด์งานที่เริ่มต้นทำ บุกเบิกใหม่ มีการบดอัดพื้นที่ เน้นงานปรับพื้นที่ ไม่ติดหล่มง่าย เนื่องจากมีกำลังในการขึ้นหลุม และยังสามารถวิ่งได้แบบต่อเนื่องเป็นระยะร้อยเมตร ขนาดการเคลื่อนย้ายยังต้องแยกส่วนออก แล้วใส่รถบรรทุกมาประกอบในพื้นที่งาน เพราะการวิ่งไกลๆของรถเครนตีนตะขาบ จะส่งผลทำให้กลไกของล้อเสียหายได้

1.2 รถเครนแบบทรัคเครน (Truck Crane)
-รถเครนที่มีเครนติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก มีล้อยางและวิ่งได้เร็วแบบรถบรรทุก สามารถวิ่งได้เร็วและวิ่งระยะทางไกลๆ ได้คล้ายรถบรรทุก วิ่งเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง วิ่งข้ามอำเภอหรือข้ามจังหวัดได้ การเลี้ยวมีความคล่องตัว แม้ในมุมแคบ การใช้งานต้องใช้ในพื้นที่ที่ถูกบดอัดแล้วเท่านั้น

1.3 รถเครนแบบราฟเตอเรน (Rough Terrian Crane)
-ลักษณะล้อยางเหมือนรถเครนทรัคเครน แต่ขนาดตัวรถจะสั้นกว่า ขับเคลื่อนแบบ 2 หรือ 4 ล้อ และมีความแตกต่างตรงที่จำนวนและลักษณะของล้อ เหมาะกับการใช้งานสภาพพื้นที่ที่ขรุขระ แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนรถเครนล้อตีนตะขาบ เหมาะกับงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถวิ่งข้ามจังหวัดได้ แต่แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าและไม่คล่องตัวรถเครนทรัคเครน

1.4 เครนใหญ่ (All Terrain Cranes)
– ลักษณะรถเครนใหญ่ มีล้อยางขับเคลื่อนทุกล้อ วิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก เหมาะในการใช้งานพื้นที่ขรุขระ สมบุกสมบัน แต่จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่ารถเครนแบบตีนตะขาบ รถเครนทรัคเครน แต่มีจนาดใหญ่กว่ารถเครนแบบรถเครนราฟเตอเรน ซึ่งมีจำนวนล้อมากกว่า และขับเคลื่อนทุกล้อ ปัญหาของรถรุ่นนี้ จะเป็นในการของการเลี้ยวมุมแคบยาก

1.5 รถบรรทุกติดเครน (Lorry Cranes) (Truck Loader Cranes) (Boom Truck Cranes)
-เป็นลักษณะะเหมือนรถบรรทุก แต่จะมีการติดตั้งเครนเข้าไป

รถเครน ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานปรับภูมิทัศน์ มักใช้ทำงานก่อสร้างที่ต้องยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก โดยทั่วไปแล้ว เครนมักติดตั้งด้วยสายเคเบิ้ลและพูลเลย์ (สายพาน) โดยทำงานตามหลักการเครื่องจักรพื้นฐาน รวมทั้งได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานกับอุตสาหกรรมหลากหลาย เครนแต่ละประเภทจะอิงกฎฟิสิกส์ในการทำงาน กล่าวคือ รถเครนต้องเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักไม่เกินโหลดที่ยกได้ เพราะเครนจะยกวัตถุขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อน้ำหนักของเครนถ่วงน้ำหนักของวัตถุได้ ไม่หนักมากเกินไปจนยกขึ้นไม่ได้ โดยทั่วไปแล้ว รถเครนแบ่งตามประเภทการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เครนแบบเคลื่อนที่ (Mobile Crane) คือ รถเครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังติดตั้งบนยานพาหนะ เคลื่อนที่ไปที่ต่างๆ ได้ สามารถจำแนกออกเป็น
2. เครนแบบอยู่กับที่ (Stationary Crane) คือ รถเครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังติดตั้งฐานที่ปักหลักเฉพาะที่ เช่น หอสูง ขาตั้ง หรือล้อเลื่อน สามารถจำแนกออกเป็น