แนวโน้มของคอมพิวเตอร์กราฟฟิกในอนาคตนั้น คาดว่าคงมีโปรแกรมที่สามารถตัดต่อและเพิ่มขีดความสามารถของ เอฟเฟ็กให้สมจริงและสวยงามยิ่งขึ้น การทำกราฟฟิก3มิติสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง และดีกว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้ในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าคงมีโปรแกรมตัดต่อกราฟฟิกที่มีคุณภาพสูงกว่าในปัจจุบันมาก เช่น Program Adobe Photoshopภาคใหม่ที่ทางทีมงานกำลังจะออกวางแผงในเร็วๆนี้และในอนาคตงานกราฟฟิกจะเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวันและสังคมโดยปริยายเพราะผลงานทางการโฆษณาและรายการทีวีต่างๆล้วนต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกทั้งสิ้นรวมไปถึงสื่อการเรียนการสอนและสาระบันเทิงต่างๆอีกด้วยซึ่งท่านผู้ฟังอาจจะฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นไปได้ ยากแต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยที่หลายๆคนไม่ได้รู้สึกตัวแม้แต่น้อยโดยสังเกตได้ จากผลงานทางภาพยนตร์หลายๆเรื่องในปัจจุบันและในสมัยก่อนเมื่อ10ปีที่แล้วล้วนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทั้ง สเปลเชียลเอฟเฟ็ก ภาพ แสง สี เสียง

ชนิดของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้
1. กราฟิกแบบบิตแมป
กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ “1” หมายถึงเปิด และ “0” หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้า เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
2. กราฟิกแบบเวกเตอร์
กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออบเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริงๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟิกแบบบิตแมป