อัปเกรดระบบการติดตามแพ็กเกจเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจคุณก็รู้เพียงแค่ว่าคุณต้องทำทุกวันกี่งาน จากการทำให้ธุรกิจของคุณลอยตัวเพื่อรับมือกับลูกค้าและการจัดการพนักงานสิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการก็คือพัสดุที่สูญหายจากผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของ บริษัท ประเภทใดก็ตามเกือบจะรับประกันว่าคุณจะมีพัสดุที่เข้าและออกจากที่ทำงานของคุณเป็นประจำ หากคุณเป็น บริษัท ที่เจาะลึกโลกของการค้าปลีกคุณจะมีอีเมลนี้เข้าและออกทุกวัน

ตอนนี้มากขึ้นกว่าเดิมมันเป็นเรื่องง่ายที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดการจดหมายที่เข้าสู่ บริษัท ของคุณ มี บริษัท ซอฟต์แวร์เฉพาะที่สร้างโปรแกรมเฉพาะสำหรับจัดการพื้นที่โฆษณาและแพคเกจของคุณ ทำให้ทราบว่าทุกรายการที่เข้าสู่สถานที่ของคุณตั้งอยู่ได้ง่ายกว่าที่เคย นี้นำไปสู่ความเครียดน้อยลงและช่วยให้คุณสามารถมุ่งเน้นมากขึ้นในบางส่วนของงานอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณต้องทำทุกวัน

ธุรกิจและองค์กรทั้งสองสามารถได้รับประโยชน์ในหลายรูปแบบจากการใช้ระบบติดตามพัสดุ คุณจะสามารถตรวจสอบสถานะของรายการเหล่านี้ได้หากคุณส่งพวกเขาไปยังลูกค้าและสามารถติดตามสถานที่ที่สินค้าอยู่ใน บริษัท ของคุณได้หากคุณได้รับสินค้า โดยรวมแล้วแพคเกจที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าคุ้มค่ากับธุรกิจของคุณและมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ คุณสามารถกำหนดหมายเลขเฉพาะให้กับแต่ละพัสดุซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงให้หมดไปได้อย่างสมบูรณ์
หากคุณเป็นสถานที่ค้าปลีกคุณจำเป็นต้องจัดส่งสินค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความล่าช้าหรือรายการที่ขาดหายไปอาจนำไปสู่ความสูญเสียของลูกค้า การมีข้อมูลการติดตามที่เหมาะสมในรายการนี้จะช่วยให้คุณไม่เพียง แต่ลูกค้าของคุณเท่านั้นทราบว่าอยู่ที่ใดและระยะเวลาเท่าที่จะมาถึงที่ประตูของพวกเขา นี้ไม่เพียง แต่เป็นที่ดีสำหรับคุณ แต่จะช่วยให้ บริษัท ของคุณมีลักษณะมืออาชีพมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ถูกติดตั้งใน บริษัท ของคุณคือคุณสามารถจัดการรายการต่างๆตามที่พวกเขาป้อนได้ คุณจะสามารถสแกนบาร์โค้ดบนรายการและทันทีที่พวกเขาจะปรากฏในตัวจัดการพื้นที่โฆษณาของคุณ มีหลาย บริษัท ที่เสนอรูปแบบของซอฟต์แวร์นี้และแน่นอนว่าคุณจะต้องตัดสินใจว่าเหมาะสมกับความต้องการของแบรนด์ของคุณมากที่สุด โปรแกรมที่ปรับแต่งได้และใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้เมื่อคุณมีระบบรูปแบบนี้แล้วคุณจะประหยัดเวลาและเงินเป็นจำนวนมากซึ่งอาจนำไปสู่ธุรกิจที่เจริญรุ่งเรืองได้ คุณจะเริ่มลดปัญหาของรายการที่หายไปซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการติดตามรายการเนื่องจากคุณจะสามารถเห็นตำแหน่งสุดท้ายได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถประหยัดเงินได้เนื่องจากคุณจะเลิกโดยไม่ต้องเรียงลำดับรายการใหม่ที่ถูกใส่ผิด ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่รู้นับทุกเงินและแม้แต่รายการที่หายไปที่ง่ายที่สุดคือต้นทุนของ บริษัท ของคุณที่ไม่พึงประสงค์ค่าใช้จ่าย

อีกประโยชน์ที่สำคัญสำหรับซอฟต์แวร์รูปแบบนี้ก็คือแบรนด์ที่ทันสมัยที่สุดนำเสนอโปรแกรมบนระบบคลาวด์ ซึ่งหมายความว่าตราบเท่าที่คุณมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตคุณจะสามารถดูพื้นที่โฆษณาของ บริษัท ของคุณและค้นหาตำแหน่งของแพ็กเกจที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานหลายคนสามารถดูข้อมูลจากสถานที่ต่างๆได้ทั่วทั้ง บริษัท และสามารถเชื่อมโยงโดยตรงกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่นเครื่องสแกนบาร์โค้ด นอกจากนี้หากคุณไม่อยู่ห่างจาก บริษัท ของคุณและต้องการตอบคำถามหรือตรวจสอบสถานะของรายการคุณสามารถทำได้อย่างง่ายดาย

เพื่อต้องการให้งานกราฟิกมีคุณค่าทางความงาม มีความน่าเชื่อถือและสามารถแสดงเอกภาพของการสื่อความที่ดีได้อย่างเต็มที่ องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานกราฟิกมีความโดดเด่นและน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ โดยพิจารณาจากหลักการดังต่อไปนี้

รูปแบบตัวอักษรและขนาด การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบที่แปลกตา สวยงาม จะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกตอบสนองได้อย่างดี ในการกำหนดแบบของตัวอักษรบนงานกราฟิกผู้อกแบบจะต้องเน้นเรื่องความชัดเจนสวยงามอ่านง่ายและสอดคล้องกับโครงการออกแบบนั้นๆ ด้วย นักออกแบบจะต้องพิจารณาเรื่องรูปแบบ สำหรับข้อความนำเรื่อง และข้อความรายละเอียดไปพร้อมๆ กัน นอกจากรูปแบบตัวอักษรแล้ว การกำหนดขนาดของตัวอักษรที่มีความสำคัญไม่น้อยเลย ขนาดของตัวอักษรทุกส่วนบนชิ้นงานต้องมีความพอเหมาะที่จะทำให้อ่านได้ง่าย ตัวอักษรที่มีขนาดเล็กมากอาจเป็นอุปสรรคในการสื่อความที่ดี ความกว้างและความสูงที่พอเหมาะก็ช่วยให้รูปอแบบดูง่ายขึ้น นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วการจัดวางรูปแบบข้อความที่สอดคล้องกับความเคยชินในการอ่านโดยปกติก็เป็นสาระที่ควรคิดด้วยในการออกแบบ

การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบกราฟฟิค มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจัดระเบียบของข้อมูล ช่วยกานเน้นความชัดเจนและความเป็นระเบียบมากขึ้น ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างจะช่วยพักสายตาในการอ่านทำให้ดูสบายตา สร้างจังหวะลีลาขององค์ประกอบภาพให้เหมาะสมและสวยงาม

การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง สีมีบทบาทอย่างยิ่งที่จะช่วยเน้นความชัดเจนทำให้สะดุดตา สร้างสรรค์ ความสวยงาม การกำหนดโครงสีจะใช้วิธีการใดก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงานนั้นๆ ข้อคำนึงสำคัญคือสีบนตัวภาพ พื้นภาพและบนตัวอักษรต้องมีความโดดเด่น ชัดเจน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะมีความสนใจและความชอบที่แตกต่างกันไป นักอกแบบอาจใช้หลักการทางทฤษฎีสีผสมผสานกับหลักจิตวิทยาการใช้สีในการจัดโครงสีบนชิ้นงานเพื่อเป้าหมายการตอบสนองที่ดีที่สุด

การจัดวางตำแหน่ง หมายถึงการออกแบบจัดโครงร่างทั้งหมดที่จะกำหนดตำแหน่งของข้อความทั้งหมดและส่วนประกอบอื่นๆ ที่ปรากฏ ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น ความสมดุลต่างๆ ตลอดจนความสบายตาในการมอง นักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญต่อสาระทุกส่วนที่ปรากฏบนชิ้นงานเท่ากันหมด ความพอเหมาะพอดีขององค์ประกอบตำแหน่งต่างๆ จะทำให้งานกราฟิกเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

แนวโน้มของคอมพิวเตอร์กราฟฟิกในอนาคตนั้น คาดว่าคงมีโปรแกรมที่สามารถตัดต่อและเพิ่มขีดความสามารถของ เอฟเฟ็กให้สมจริงและสวยงามยิ่งขึ้น การทำกราฟฟิก3มิติสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง และดีกว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้ในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าคงมีโปรแกรมตัดต่อกราฟฟิกที่มีคุณภาพสูงกว่าในปัจจุบันมาก เช่น Program Adobe Photoshopภาคใหม่ที่ทางทีมงานกำลังจะออกวางแผงในเร็วๆนี้และในอนาคตงานกราฟฟิกจะเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวันและสังคมโดยปริยายเพราะผลงานทางการโฆษณาและรายการทีวีต่างๆล้วนต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกทั้งสิ้นรวมไปถึงสื่อการเรียนการสอนและสาระบันเทิงต่างๆอีกด้วยซึ่งท่านผู้ฟังอาจจะฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นไปได้ ยากแต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยที่หลายๆคนไม่ได้รู้สึกตัวแม้แต่น้อยโดยสังเกตได้ จากผลงานทางภาพยนตร์หลายๆเรื่องในปัจจุบันและในสมัยก่อนเมื่อ10ปีที่แล้วล้วนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทั้ง สเปลเชียลเอฟเฟ็ก ภาพ แสง สี เสียง

ชนิดของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้
1. กราฟิกแบบบิตแมป
กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ “1” หมายถึงเปิด และ “0” หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้า เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
2. กราฟิกแบบเวกเตอร์
กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออบเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริงๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟิกแบบบิตแมป

งานกราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ใช้ ความสามารถเฉพาะตัวของนักออกแบบแต่ละคน บนพื้นฐานของหลักการทางศิลปะ แต่นอกเหนือจากความรู้ทางศิลปะแล้ว คนที่จะทำงานกราฟิกได้ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรอีกบ้าง

1. ขยันฝึกหัด คนที่จะมีความชำนวญในการใช้โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องมีการฝึกหัดอย่างเป็นประจำ โดยอาจจะไม่ต้องเก่งหลายโปรแกรมก็ได้ เพียงให้รู้ลึกรู้จริงในโปรแกรมใดโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก็สามารถหาเลี้ยงตัว เองได้แล้ว ทั้งนี้สามารถฝึกด้วยตนเอง 3 วิธี

2. คิดสร้างสรรค์ การสร้างงานที่แตกต่าง แปลกใหม่ และโดดเด่น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงานศิลปะ จะสื่อสารอย่างไรให้ สะดุดตา สะดุดใจ ก็ต้องคิดริเริ่มทำขึ้นมา โดยอาจหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือออกไปเปิดหูเปิดตาภายนอก เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ อย่างเช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว เป็นต้น

3. เซ็ทค่าเอาท์พุตให้สวย บางคนทำงานที่เครื่องของตัวเอง เซ็ทค่าสีไว้เสียสวยงาม แต่เวลาพิมพ์ออกมา หรือแสดงผลบนเครื่องของคนอื่นกลับไม่เหมือนอย่างที่ทำไว้ คนทำกราฟิกจึงต้องมีความรู้เรื่องการเซ็ทค่าเอาท์พุตให้สามารถแสดงสีออกมา ได้สวยงามเช่นเดียวกับที่เห็นหน้าจอมอนิเตอร์ สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก แต่ต้องระวังเรื่องของ Browser เนื่องจาก Browser ต่างค่ายก็จะแสดงผลที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็กเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็กเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน

4. สนใจความเป็นไปรอบตัว การเป็นคนทันยุค ทันเหตุการณ์จะช่วยให้คุณสามารถเสริมลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปในงานของคุณ ทำให้งานของคุณดูทันสมัย แตกต่างจากคนอื่นในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็นดาวเด่นในพริบตาก็ได้

5.กล้าที่จะลอง เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเรา จึงไม่อาจยึดติดอยู่กับเครื่องมือเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย การลองใช้ Software ใหม่ ๆ ที่มีการ Update อยู่เสมอจะทำให้เราได้ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์ หากล้วนแล้วแต่มาจากพรแสวงที่ทุกคนต้องขวนขวายมาเป็นอาวุธติดกาย เพื่อใช้ในการทำงานและพัฒนาผลงานกราฟิกของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

งานกราฟิกนับเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบข้อความ ตกแต่งภาพนิ่ง หรือสร้างงานภาพเชิงเส้น สำหรับนำไปสร้างสื่ออื่นๆ ทั้ง ภาพเคลื่อนไหว เอกสารหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นชิ้นส่วนในสื่อวิดีทัศน์ ในหน้าเอกสารเว็บ และอื่นๆ อีกมากมาย

ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสรร มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆที่แสดงค่าสีดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมากเมื่อจะนำมาใช้

จุดเริ่มต้นของงานออกแบบคือ ปัญหา … มีปัญหา มีโจทย์ จึงมีการออกแบบแก้ไข โจทย์ที่ว่านั้นมีความยากง่ายต่างกันแล้วแต่ชนิดของงาน แต่โจทย์ไม่มีทางออก-แบบได้ ถ้าปราศจากการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง

What เราจะทำงานอะไร ?
กำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า จะกำหนดให้งานของเราบอกอะไร (Inform) เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บอกทฤษฎี หรือหลักการ เพื่อความบันเทิงเป็นต้น

Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน ?
เช่น งานออกแบบผนังร้านหนังสือที่สยามสแควร์ที่เต็มไปด้วยร้านค้าแหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตามาก-กว่าร้านแถวสีลม ซึ่งสถานที่ในเขตคนทำงาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น

Who กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
กลุ่มเป้าหมาย (User Target Group) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์โจทย์เพื่อการออกแบบ เพราะผู้ใช้งานเป้าหมายอาจเป็นตัวกำหนดแนวความคิดและรูปลักษณ์ของงานออกแบบได้เช่น งานออกแบบโปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ เราต้องออกแบบโดยใช้สีจำนวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่าผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ

How แล้วจะทำงานชิ้นนี้อย่างไร ?
การคิดวิเคราะห์ในขั้นสุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่เป็นการคิดที่รวบรวมการวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง

กราฟิกเป็นศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ กราฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพวาดและการเขียนงานออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัตถุ 2 มิติ มีความกว้างและความยาวเท่ากัน อันได้แก่ งานสถาปนิกในการเขียนแปลนบ้าน การเขียนภาพเหมือนของจิตรกร การออกแบบโฆษณาของช่างออกแบบ กราฟิกเป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น รวมไปถึงการพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ เพราะเหตุนี้ กราฟิก จึงหมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมายด้วยการใช้เส้น ภาพวาด สัญลักษณ์ ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ

คอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ได้มีการประยุกต์ใช้งานของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก (Computer Graphic) มาใช้ในงานสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในการใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ในการทำสื่อสิ่งพิมพ์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในกระบวนการพิมพ์ ช่วยเอื้ออำนวยให้การออกแบบเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการวางรูปแบบ การจัดทำอาร์ตเวิร์ก การจัดต่อภาพและตัวอักษร การใช้สี สามารถสร้างสรรค์และใช้จินตนาการเพื่อให้ได้งานที่สวยงามและน่าสนใจ

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิกนั้นสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปได้ โดยมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์บางประการให้กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล การนำเข้าข้อมูล การแสดงผลข้อมูลแบบกราฟิก ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับงานกราฟิก ดังนั้น คอมพิวเตอร์กราฟิก จึงหมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ -กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ -กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้นกราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว) ซึ่งต่างจาก 3 มิติ ซึ่ง 3 มิติ นั้นจะมีแกน Z (ความหนาหรือความสูง) เพิ่มเข้ามา ทำให้เราเห็นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนรูปแบบหรือนามสกุลไฟล์ก็จะเป็น format รูปภาพทั่วๆไป

กราฟิกก็คือรูปแบบการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสัญลักษณ์ ที่เข้าใจได้ง่าย และตรงกันระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสารในปัจจุบันไม่ว่าจะหันมองทางไหนก็จะเต็มไปด้วยงานออกแบบกราฟิก ซึ่งจะเห็นได้จากการนำไปใช้งานในด้านต่างๆดังนี้
– เป็นสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ หรือ E-Learning ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค ซึ่งเนื้อหาจะอยู่ในรูปแบบการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ และการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
– การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ลักษณะรูปแบบ VDO Conference สามารถเรียนรู้จากคนละที่ได้และมีการตอบข้อซักถามอย่างทันท่วงที โดยมองเห็นกันด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยไม่ต้องมาพบกันจริงๆ ซึ่งทำให้ประหยัดและได้ประโยชน์อย่างยิ่งและยังสามารถเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง
– เป็นรูปแบบสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI หรือ Computer Aided Instructionโดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพราะสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
– สามารถสร้างผลงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ วิดิทัศน์ เพื่อนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
– ใช้ในการสร้างเกมส์ เช่น เกมส์ออนไลน์ เป็นการฝึกสร้างทักษะ ฝึกสมองและสติปัญญาให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
– ใช้ในการออกแบบพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่างๆ
– ใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใดๆ ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม
– ใช้ในการวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี
-ใช้ในการสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยการนำ Special Effect ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวมาใช้เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนยิ่งขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะสะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่นๆและยังได้ภาพที่ดูสมจริงมากขึ้น เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของคนในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี

งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

– กราฟฟิกเป็นศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ
– กราฟฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น
– วัสดุที่เกิดจากการวาดและการเขียนงานออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัตถุ 2 มิติ มีความกว้างและความยาวเท่ากัน อันได้แก่ งานสถาปนิกในการเขียนแปลนบ้าน การเขียนภาพเหมือนของจิตรกร การออกแบบโฆษณาของช่างออกแบบ
– กราฟฟิกเป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น รวมไปถึงการพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ

ดังนั้นสรุปได้ว่า กราฟิก นั้นหมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยการใช้เส้น ภาพวาด สัญลักษณ์ ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ แล้วคำว่าคอมพิวเตอร์กราฟฟิกละหมายถึงอะไร คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพกราฟฟิกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งภาพ การวาดภาพ การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ

ปัจจุบันนี้เข้ามามีบทบาทมาก ในปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิกในงานทุกๆ ด้านไม่ว่า ด้านธุรกิจ งานพิมพ์ งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นมีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานในด้านการออกแบบทางด้านกราฟฟิก ให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้เพียงคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของตนเองได้โดยทันทีสะดวกมาก

คอมพิวเตอร์กราฟิกก็แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
คอมพิวเตอร์กราฟิก 2 มิติ
คือ ภาพ 2 มิติ ที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจประกอบด้วยภาพกราฟิกแบบแรสเตอร์ ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ที่ไม่มีการคำนวณความลึก ลวดลายฟอนต์ ฯลฯ

คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ
คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ คือ ภาพที่สร้างขึ้นจากการจำลองโมเดล 3 มิติทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การคำนวณในด้านต่างๆ เช่น พีชคณิตเชิงเส้น ตรีโกณมิติ เพื่อหา Perspective เพื่อนำมาทำการจำลองภาพกลับเป็น 2 มิติหรือ 3D หรืออาจหมายถึงการคำนวณอื่นๆเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโมเดล 3 มิติ


ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนกราฟิก ถือเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญในการสร้างสื่อพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารการสอน สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งใบปลิว แผ่นพับ จดหมายข่าว จนถึงแผ่นป้ายโฆษณา ที่แม้ว่าปัจจุบันต้นทุนในการสร้างป้ายด้วยไวนิล จะมีราคาไม่สูง แต่ก็ต้องผ่านกระบวนการออกแบบ ดังนั้นโปรแกรมการออกแบบงานกราฟิก จึงเป็นโปรแกรมการออกแบบสื่อการศึกษาที่สำคัญ

แนวทางการออกแบบและพัฒนางานกราฟิก
งานกราฟิกนับเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบข้อความ ตกแต่งภาพนิ่ง หรือสร้างงานภาพเชิงเส้น สำหรับนำไปสร้างสื่ออื่นๆ ทั้ง ภาพเคลื่อนไหว เอกสารหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นชิ้นส่วนในสื่อวิดีทัศน์ ในหน้าเอกสารเว็บ และอื่นๆ อีกมากมาย

ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสรร มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆที่แสดงค่าสีดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมากเมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล

การออกแบบงานกราฟิกที่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้
1. ความสมดุลจอหน้าจอ ผู้ออกแบบจะต้องให้มีความสมบูรณ์แบบแบ่งครึ่งซ้ายขวาเท่ากัน หรือการจัดวางหรือองค์ประกอบที่ซ้ายขวาไม่เท่ากัน แต่ดูแล้วสมดุลกันก็ได้
2. ความเรียบร้อย เป็นสมบัติสำคัญของการออกแบบสื่อทุกประเภท ซึ่งออกแบบได้ไม่ยากแต่การออกแบบให้มีความเรียบง่ายและน่าสนใจด้วยนั้นทำได้ ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบข้อความ ปัจจุบันการออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบของกราฟิกในรูปแบบต่าง ๆ กัน เกี่ยวข้องด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวาด และอื่น ๆ โดยยังมีข้อความเป็นองค์ประกอบหลัก “ความเรียบร้อย” หมายถึง การออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ผู้ออกแบบได้จัดผสมผสานองค์ประกอบร่วมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและคอมพิวเตอร์อย่างมี ระบบ อ่านง่าย เข้าใจง่าย และผู้เรียนได้รับความรู้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message)

วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร่างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)

จะเห็นได้ว่าสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่งต่างๆ จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากปัจจุบันสู่อนาคตมีผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้ งานออกแบบกราฟิกมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระบบการสื่อสาร การสร้างสรรค์และการจรรโลงสภาพสังคมให้เล็ง เห็นถึงคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ (Aestetic Values) งานกราฟิกชิ้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดยรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลเกิดความสนใจและยอมรับ และ ในขณะเดียวกันยังแสดงคุณค่าอื่นพร้อมกันไปด้วย ได้แก่

เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความ เข้าใจตรงกันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างชัดเจน
สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี
ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ ความประทับใจ และความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภค
ทำให้เกิดความกระตุ้นทางความคิดและ การตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลที่ได้จากงานออกแบบกราฟิกจะช่วยกระตุ้นให้ปฏิบัติ ตามหรือเปลี่ยนพฤติกรรมทางความคิดได้ด้วย

งานออกแบบ หมายถึงการถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือการวางแผนการทำงานก็ได้  ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นผลงานออกแบบ คือตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด

1416980w620-525x350

ประเภทของการออกแบบ

  1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้าโบสถ์วิหาร ฯลฯ
  2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์
  3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิตบางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย
  4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก
  5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์โปสเตอร์นามบัตร บัตรต่างๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ